วันเสาร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2551

เมล็ดเทียมกล้วยไม้

เมล็ดเทียมกล้วยไม้ (Artificial seed of orchid)
รศ.ดร.คำนูณ กาญจนภูมิ และ นิอร คงประดิษฐ์

ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่


ปััจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีต่างๆมาใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม
หนึ่งในเทคโนโลยีใหม่ๆที่จะนำมาเล่าสู่กันฟังในวันนี้ คือเรื่องของการทำเมล็ดเทียมซึ่งอาจฟังดูไม่คุ้นหูสำหรับบางท่า
นที่เพิ่งเคยได้ยิน หรือเป็นเรื่องที่หลายท่านเคยได้ทราบมาบ้างแล้ว
คำว่า เมล็ดเทียม (Artificial seed หรือ Synthetic seed)
แปลตรงตัวก็คือเมล็ดที่ไม่ใช่เมล็ดจริงที่เกิดขึ้นในการผสม
ผสานนธรรมชาติหากแต่เกิดขึ้นโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นการเลียนแบบเมล็ดพืชที่ได้จาก พันธุ์ตามธรรมชาติ ซึ่งเมล็ดเทียมนี้ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ส่วนได้แก่
(1) เอ็มบริโอหรือ ต้นอ่อน
(2) เอ็นโดสเปิร์มเทียม (Artificial endosperm) ที่สร้างขึ้นมาแทนเอ็นโดสเปิร์มของเมล็ด
เพื่อให้อาหารแก่เอ็มบริโอหรือต้นอ่อน
(3) เปลือกหุ้มเมล็ดเทียม (Artificial seed coat) ทำหน้าที่ป้องกันอันตรายให้กับเอ็มบริโอหรือต้นอ่อน
การผลิตเมล็ดเทียมนั้นมีข้อดีในแง่ของการเก็บรักษาพันธุ์พืช ประหยัดเวลาการย้ายเลี้ยงในหลอดทดลอง ประหยัดพื้นที่ในการเก็บรักษา และสะดวกในการขนส่ง





ในต่างประเทศได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดเทียม
นี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513มีงานวิจัยหลายต่อหลายชิ้นไม่ว่าจะเป็น เมล็ดเทียมกล้วย โสม มะละกอ เป็นต้น



ซึ่งงานวิจัยเหล่านี้ถือได้ว่าประสบความสำเร็จมากในระดับหนึ่ง หากพูดถึงการทำเมล็ดเทียมในประเทศไทยนั้น ยังไม่เป็นที่รู้จักแพร่หลาย
นักในที่นี้จึงจะกล่าวถึงการทำเมล็ดเทียมกล้วยไม้ซึ่งถือเป็นพืชที่มีความ
สำคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทยทำรายได้ให้แก่ประเทศเป็นจำนวนมาก


นอกจากนี้ประเทศไทยถือได้ว่าเป็นประเทศที่มีกล้วยไม้ทั้งที่เป็นพันธุ์แท้ดั้งเดิมและลูกผสม อยู่มากมายหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นกล้วยไม้สกุลหวาย ฟาแลนนอบซิส แคทลียา หรือรองเท้านารี (รูปที่ 1) ดังนั้นเมล็ดเทียมกล้วยไม้หนึ่งเมล็ดจะประกอบด้วย
1. ต้นอ่อนกล้วยไม้หรือที่เรียกว่าโพรโทคอร์ม (Protocorm) (รูปที่ 2)
และอาหารเลี้ยงต้นอ่อนหรือเอ็นโดสเปิร์ม

วิธีการทำเมล็ดเทียมกล้วยไม
จะเริ่มจากการใช้สารควบคุมความเหนียวข้น เช่นโซเดียมแอลจิเนต (Sodium alginate)
ละลายใน อาหารสังเคราะห์สูตรที่นิยมใช้ในการเพาะเลี้ยงกล้วยไม้ในหลอดทดลองเช่น สูตร VW หรือ MS จากนั้นนำโพรโทคอร์มมาใส่ในสารละลายโซเดียมแอลจิเนต แล้วดูดสารละลายโซเดียมแอลจิเนตโดยให้มีโพรโทคอร์มติดมาด้วย นำไปหยดลงในสารละลายแคลเซียมคลอไรด์ (Calcium chloride) จะเกิดการฟอร์มตัวเป็นเมล็ดกลมมีเปลือกหนาแข็งแรงหุ้มโพรโทคอร์ม (รูปที่ 3) ซึ่งเมล็ดเทียมกล้วยไม้ที่ได้สามารถนำไปเพาะให้เจริญเป็นต้นกล้วยไม้ที่สมบูรณ์ (รูปที่ 4, 5) หรือเก็บรักษาไว้ในที่แห้งและอุณหภูมิต่ำได้เป็นเวลานาน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในแง่ของการอนุรักษ์พันธุ์กล้วยไม้ต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น: